วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561



ประวัติ

ประวัติของดักลาส แมคเกรเกอร์
Douglas Murray McGregor (1906 -1964) เขาเกิดปี1906 ในเมืองชายแดนที่คึกคักของดีทรอยต์,
มิชิแกนเมื่อเขาเรียน High School เขาไดเ้ล่นเปียโน และทำงานเป็นเสมียนกลางคืนที่สถาบัน the McGregorไปด้วย สถาบันthe McGregor เป็นสถาบันขอครอบครัวเขา ที่มีพนักงานชั่วคราวกว่า100คน
อายุ17เขาได้เข้าเรียนในระดับปริญญาจิตวิทยาที่วิทยาลัยWayne State University เมืองดีทรอยต์
อายุ 19 เขาตัดสินใจพักการเรียน เพื่อแต่งงาน และเป็นผู้ดูแลสถานีน้ำมันในฟัฟฟาโล
ปี 1930 เขาได้ย้ายสถานีน้ำมันให้มีมากข้ึน
ปี 1932 เขาไดย้ายไปศึกษาต่อที่ Cambridge, Massachusetts
ปี 1935 เขาได้ศึกษาที่ฮาวาร์ดศึกษาต่อ MA และปริญญาเอกทางจิตวิทยา หลังจากเรียนจบแล้วเขาก็ได้อยู่เป็นอาจารยส์อนจิตวทิยาที่ฮาวาร์ดต่ออีก2ปี จากั้นมาสอนที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซทหรือMIT ฐานะอาจารย์สอนวิชาจิตวิทยา เนื่องจากตำแหน่งที่เพิ่มข้ึนทำให้เขาย้ายเข้ามาเป็นศาสตราจารย์สอนทางจิตวิทยาและเป็นผู้บริหารหารระดับสูงในส่วนของแผนกความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมของ MIT และในที่สุดก็ได้กลายเป็นนักจิตวิทยาสังคม
ปี 1947 เมื่อเขาอายุได้41 เขาได้กลายเป็นประธานของวิทยาลัย Antitioch
ปี 1960 ชื่อของเขาเป็นที่รู้จกัจากการเข้าไปเชื่อมโยงกับทฤษฎีY ที่เขาได้กล่าวไว้นในหนังสือเรื่อง
“Managing the Human Side of Enterprise”
ในช่วงฤดูร้อน ปี1964 เขาได้ใช้เวลาเขียนต้นฉบับซึ่งถูกตีพิมพ์หลังจากเขาตายในเดือนตุลาคมชื่อ เรื่อง
“The Professional Manager ” แม้ว่า Douglas McGregor จะหัวใจวายตายอย่างกระทันด้วยอายุแค่58ปีแต่ Douglas McGregor 4
ทฤษฎีไม้แข็ง (X Theory) และทฤษฎีไม้นวม (Y Theory )
ของเขาก็ยงัเป็นที่ความคิดก็ทำให้เขาได้ข้ึนชื่อว่าป็น"ผู้บุกเบิกการบริหารจัดการ" ผู้คิดค้นทฤษฎี X และทฤษฎีY
ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบ
กฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกลชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกา หนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม
ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสใหม้ีส่วนร่วมในการ
บริหารงาน

1.www.historiadaadministracao.com. 
2. www.runan6.com 
3. http://webhost.tsu.ac.th 
4. หนังสือจิตวิทยาอุตสาหกรรม 
5. หนังสือ “The Human Side of Enterprise” 
6. www.guru.google.co.th 
7. www.pondza7.blog 
8. www.idis.ru.th 
9. www.gotoknow.org 
10. www.novablzz.com

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์             
            แมคเกรเกอร์ (McGregor, 1960) เป็นเป็นศาสตราจารย์วิชาการบริหาร ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสทส์ สหรัฐอเมริกา เขาทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ วิชาการบริหาร ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเสทส์ สหรัฐอเมริกา เขาทำการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ ชี้ให้เห็นถึงแบบของการบริหาร 2 แบบ คือ ทฤษฎี X ซึ่งมีลักษณะเป็นเผด็จการ และทฤษฎี Y หรือการมีส่วนร่วม แต่ละแบบเกี่ยวข้องกับสมมุติฐานที่มีต่อลักษณะของมนุษย์ดังนี้ 

ผู้บริหารแบบทฤษฎี X เชื่อว่า 

            1. มนุษย์โดยทั่วไปไม่ชองการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้ 
            2. เนื่องจากการไม่ชอบทำงานของมนุษย์ มนุษย์จึงถูกควบคุม บังคับ หรือข่มขู่ให้ทำงาน ชอบให้สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามได้เพียงพอ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
            3. มนุษย์โดยทั่วไปพอใจกับการชี้แนะสั่งการหรือการถูกบังคับ ต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความมั่นคงมากที่สุด ผู้บริหารตามทฤษฎี X จึงต้องสร้างแรงจูงใจโดยการข่มขู่ และลงโทษ เพื่อทำให้ลูกน้องใช้ความพยายามให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ 

ผู้บริหารแบบทฤษฎี Y มีความเชื่อว่า 

            1. การทำงานเป็นการตอบสนองความพอใจ 
            2. การข่มขู่ด้วยวิธีการลงโทษไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจูงใจให้คนทำงาน บุคคลที่ผูกพันกับการบรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ จะมีแรงจูงใจด้วยตนเองและควบคุมตนเอง 
            3. ความผูกพันของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายขึ้นอยู่กับรางวัล และผลตอบแทนที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับเมื่อเป้าหมายบรรลุถึงความสำเร็จ 
            4. ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน เป็นการจูงใจให้บุคคลอมรับและแสวงหาความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน 
ทฤษฎี Y เน้นถึงการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นรู้จักตัวเองได้ถูกต้อง รู้จักความสามารถของตนเอง ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างสรรค์สถานการณ์ที่จะทำให้สมาชิกมีความรู้สึกรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงาน  ในการบริหารนั้น มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” และทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง “คน”  การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์  การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ”  และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (human behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y คือ
             ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
             ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม  ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
             สรุป Donglas Mc Gregor เห็นว่าคนมี 2 ประเภท และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน


บรรณานุกรมเพิ่มเติ่ม

McGregor, Douglas M. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill Book Company.
ข้อสมมุติเกี่ยวกับทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์


William G. Ouchi



                  วิลเลี่ยม โออุชิ เป็นศาสตราจารย์ใน University of California at Los Angeles (UCLA)
ทฤษฎี เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากผลกระทบระหว่างระบบการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่นและ
อมริกา
ทฤษฎีของ ของ Ouchi (Ouchi’s Theory Z) เป็นทฤษฎีอธิบายโครงสร้างตามการจัดการผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกาหรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory Jคือ
§  ทฤษฎี เป็นแนวความคิดการจัดการของสหรัฐอเมริกาซึ่งองค์การเน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การน้อย
§  ทฤษฎี เป็นแนวความคิดการจัดการของญี่ปุ่นซึ่งองค์การเป็นการจ้างงานตลอดชีพ พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การสูง
§  ทฤษฎี เป็นแนวความคิดการจัดการประสมประสาน ระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยเน้นการจ้างงานระยะยาวมีการตัดสินใจและความรับผิดชอบร่วมกัน


      ลักษณะ
                     ระบบอเมริกา
                         ระบบญี่ปุ่น
1. ระยะเวลา
    จ้าง



2. ลักษณะ
    อาชีพ

3. การเลื่อน
    ตำแหน่ง
4. ประเมิน
  ประสิทธิภาพ

5. การตัด
    สินใจ
6. ความรับ
    ผิดชอบ
7. ความ
    สัมพันธ์
มีการย้ายงานบ่อย สัญญาจ้าง
  หมดก็เลิกจ้าง พนักงานต้อง
   ไปหางานใหม่ ถือว่ามีประสบ
    การณ์สูง

ส่งเสริมให้มีความรู้เฉพาะด้าน


 -  มีการประเมินผลและเลื่อน
    แหน่งในเวลาอันสั้น
- ให้รางวัลตามผลงานของแต่ละ  
   บุคคลที่ทำได้

-  การตัดสินใจจะทำเฉพาะกลุ่ม
   ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
คนรับผิดชอบเฉพาะหน้าที่
   ของตนเท่านั้น
นายจ้างลูกจ้างมีโอกาสใน
  ความสัมพันธ์ต่อเมื่อทำงาน
  ร่วมกันเท่านั้น
มีการจ้างตลอดชีวิตจะออกจากงานเมื่อ
  มีความผิดทางอาญา และออกจากงาน
  แล้วจะหางานยาก
ครบเกษียณจะได้บำเหน็จจำนวนมาก

ไม่ส่งเสริมให้มีความรู้พิเศษแต่จะต้อง
   เรียนรู้ในทุกด้านของกิจการ
ใช้เวลาในการประเมินผลเพื่อ
   เลื่อนตำแหน่งประมาณ 10 ปี
จะประเมินทั้งบริษัทไม่ประเมินเป็น
   รายบุคคล การให้รางวัลยึดส่วนรวม
   เป็นหลัก
การตัดสินใจทุกคนมีส่วนร่วม
  โดยพิจารณาจากความเห็นส่วนใหญ่
ร่วมรับผิดชอบกันทั้งหน่วยงาน
   หรือทั้งบริษัท
นายจ้างและครอบครัวลูกจ้าง
  มีความสัมพันธ์ดีเสมือนหนึ่ง
  ครอบครัวเดียวกัน


คุณลักษณะที่สำคัญของทฤษฎี   Z  คือ
1. ระยะเวลาจ้างงานเป็นไปตลอดชีวิต
2. ลักษณะงานอาชีพต้องให้เรียนรู้หลาย ๆ ด้าน
3. การเลื่อนตำแหน่งไม่จำเป็นรอระยะเวลา 10 ปี
4. การประเมินประสิทธิภาพของการทำงานเป็นการทำงานเป็นทีม
5. การตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจและรวมอำนาจตามสถานการณ์
6. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์การมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน มีอิสระในความคิดของตนเอง
7. การบริหาร ใช้ระบบ M.B.O. แบบมีส่วนร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น